องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาวใหญ่ 
"การคมนาคมสะดวก เศรษฐกิจพอเพียง ลือเลื่องวัฒนธรรมประเพณี เด่นดีการศึกษา ล้ำเลิศการสาธารณสุข"

นโยบายการบริหารงาน

การพัฒนาตามนโยบายผู้บริหาร อบต.ดอนยาวใหญ่

๑) วิสัยทัศน์ (Vision)

“ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา จะพัฒนาร่วมกับประชาชน”

๒) นโยบายและเป้าหมายการพัฒนา

๑.๑) ด้านการบริหารราชการให้มีประสิทธิภาพ คุณภาพ
(๑) จัดโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพบรรลุตามนโยบายและบริหารงานอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ ให้มีส่วนร่วม ทั้งระดับชาติ ท้องถิ่นและภาคประชาชน
(๒) ประสานงาน อบจ. เทศบาล อบต. และร่วมมือกับราชการส่วนภูมิภาค
(๓) ส่งเสริมศักยภาพท้องถิ่นในทุก ๆ ด้าน ตามหลักการบริหารจัดการที่ดี
(๔) การพัฒนาเทคโนโลยี และบุคลากรให้มีความเหมาะสมและสอดคล้อง
(๕) การสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนรับรู้และติดตามการทำงานขององค์กรตนเอง

๒.๒) ด้านสาธารณสุข
(๑) เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในด้านสาธารณสุขโดยส่งเสริมสนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม)ให้ทำงานอย่างมีคุณภาพ และมีขัวญกำลังใจที่ดี
(๒) สนับสนุนการพัฒนากำลังด้านสาธารณสุข โดยจัดทำสนับสนุน
(๓) จัดระบบส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชน สู่การมีสุขภาพที่ดี ควบคุมป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ
(๔) พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน(EMS) โดยการพัฒนามาตรฐาน ศูนย์แจ้งเหตุ และจัดให้มีหน่วยรับส่งผู้ป่วยระดับโซน สามารถประสานการทำงานกับหน่วยบริการสาธารณสุข

๒.๓) ด้านการศึกษา
(๑) ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา ทั้งระดับก่อนวัยเรียน ประถม มัธยม โดยประสานการสนับสนุนงบประมาณ และพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
(๒) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคีพัฒนาในการจัดการศึกษา
(๓) ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาให้ได้มาตรฐาน

๒.๔) ด้านสวัสดิการสังคม
(๑) พัฒนาคุณภาพผู้สูงอายุ โดยสนับสนุนเบี้ยสงเคราะห์ผู้สูงอายุอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
(๒) การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา ผู้ด้อยโอกาสและผู้ติดเชื้อ HIV เพิ่มศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
(๓) ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทุกวัย
(๔) สนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วมบริหารจัดการ

๒.๕) ด้านเศรษฐกิจ พานิชยกรรม อุตสาหกรรม
(๑) ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพสินค้า OTOP
(๒) สนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน

๒.๖) ด้านเกษตรกรรม
(๑) ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตโดยให้ความรู้กับประชาชนอย่างทั่วถึง และสอดคล้องกับชีวิตจริง
(๒) เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้เกษตรอินทรีย์
(๓) ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร สนับสนุนแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฏีใหม่

๒.๗) ด้านการท่องเที่ยวและบริการ
(๑) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในตำบล

๒.๘) ด้านการกีฬาและนันทนาการ
(๑) ส่งเสริมกีฬาและนันทนาการระดับเยาวชนและประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

๒.๙) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๑) บูรณาการบริหารจัดการดิน น้ำ ป่า ขยะ มลภาวะ โดยการมีส่วนร่วมของหน่วยราชการ นักวิชาการ และประชาชน
(๒) ส่งเสริมการสร้างความร่มรื่นสองข้างทาง ปรับปรุงภูมิทัศภายในตำบล
(๓) ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน

๒.๑๐) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
(๑) ส่งเสริมการก่อสร้างฝายทำนบกั้นน้ำ ขุดลอก ขุดสระ พัฒนาแหล่งน้ำ คลองน้ำ สะพาน ระบบประปา และการกระจายการใช้ประโยชน์
(๒) การจัดให้มีและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน ทางบก เช่น ถนน คสล. ถนนหินคลุก ถนนดิน ไฟฟ้า ทางน้ำและทางระบายน้ำ การปรับปรุง การบำรุงรักษา ในเขตชุมชนและท้องถิ่น
(๓) ส่งเสริมสถานที่เพื่อนันทนาการและออกกำลังกายสนามกีฬาและนันทนาการชุมชน
(๔) การวางผังเมืองรวมของท้องถิ่น

๒.๑๑) ด้านการส่งเสริมศาสนา และวัฒนธรรม
(๑) ส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน เช่น จัดงานวันลอยกระทง จัดงานประเพณีสงกรานต์ จัดงานแห่เทียนเข้าพรรษา
(๒) ส่งเสริมบทบาทของสถาบัน บวร บ้าน วัด โรงเรียน ในการพัฒนาชุมชน

๒.๑๒) ด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(๑) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(๒) ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในด้านความมั่นคงและความปลอดภัย โดยส่งเสริมสนับสนุนตำรวจบ้าน อปพร ให้ทำงานอย่างมีคุณภาพ